การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
กว่า 40 ปี ยึดมั่นปรัชญาดำเนินธุรกิจ… “อะไรที่ดีต่อสังคม ย่อมดีต่อธุรกิจ” ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
เป็นอีกหนึ่งปีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ สถานการณ์ภัยพิบัติทั้งวิกฤตการณ์การเมืองระดับโลก และความต่อเนื่องวิกฤตการณ์โรคระบาดในแต่ละยุคสมัย ยังคงส่งผลต่อความไม่แน่นอนต่อโลกเศรษฐกิจและความท้าทายต่างๆ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จนมาถึงยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่โลกแห่งเทคโนยีดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทฯ ยังคงยึดมั่นขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานปรัชญาการดำเนินธุรกิจตลอด 4 ทศวรรษที่ว่า “อะไรที่ดีต่อสังคม ย่อมดีต่อธุรกิจ” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความท้าทายและสร้างโอกาสทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างผลกระทบที่ดีต่อเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
ปิโก (ไทยแลนด์) ได้ตระหนักถึงความท้าทาย โอกาสในหลายมิติอย่างต่อเนื่อง เช่น การแข่งขันธุรกิจสื่อสารแบรนด์และการตลาดแบบใหม่ในยุคดิจทัล ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้และการศึกษาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพคนและระบบเศรษฐกิจในอนาคต รวมถึงประเด็นด้านสภาวะภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของเราคำนึงถึงการใช้นโยบายและกลยุทธ์เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง ความจำเป็นดังกล่าวว่ามิใช่ทางเลือก แต่เป็นเรื่องที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืนของสังคม
ดังนั้น ในปีที่ผ่าน แม้ว่าบริษัทฯ ยังคงเผชิญกับความท้าทายสถานการณ์ความไม่แน่นอนของโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงผลกระทบที่ดีต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงกำหนดทิศทางดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้มีประเด็นที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อโลกธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยดำเนิน กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับธุรกิจหลัก นโยบายหลัก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ ครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 7 กลยุทธ์ ดังปรากฏบนแผนภูมิภาพ
ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
การบริหารจัดการ ด้านการตลาดและ Client Engagement |
|
การออกแบบ |
|
การบริหารจัดการด้านการดำเนินงาน |
|
กิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ |
|
ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย | ความคาดหวัง | การตอบสนอง |
---|---|---|
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม | การช่วยเหลือชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม หรือได้รับผลกระทบที่ดีจากการดำเนินงานของบริษัทฯ | บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ได้รับการดูแลอย่างดี อีกทั้ง บริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยึดหลักปรัชญาในการดำเนินธุรกิจที่ว่า “สิ่งใดที่ดีต่อสังคม สิ่งนั้นย่อมดีต่อการดำเนินธุรกิจ” บริษัทฯ จึงเน้นการสร้างสรรค์บริการด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมคุณภาพของสังคม (การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม หรือ “Creating Shared Value”) มาโดยตลอด โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (Creating Shared Value) และการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ในหัวข้อ “การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน” |
ลูกค้า |
|
ทั้งนี้ การได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงคุณภาพการให้บริการ ความปลอดภัยในการทำงาน กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การส่งมอบงานที่ตรงเวลา และการบันทึกข้อมูลอย่างรอบคอบเป็นระบบ |
คู่ค้า |
|
นอกจากนี้ เพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อเจ้าหนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินทุนให้มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม มีการสื่อสารกับเจ้าหนี้ถึงสถานะของธุรกิจอย่างสมํ่าเสมอและมุ่งมั่นในการรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้ |
ผู้ร่วมลงทุน |
|
|
พนักงาน |
|
|
คู่แข่ง |
|
|
ผู้ถือหุ้น |
|
|
การจัดการความยั่งยืน
มิติเศรษฐกิจ
ด้วยความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ บริษัทฯ ได้นำนโยบายที่ว่า ประสบการณ์นำด้วยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ (Experience-led, Digital-first) มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การจัดการความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อธุรกิจและลูกค้า สู่การสร้างรากฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณค่าและยั่งยืนต่อไป โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้กำหนดกลยุทธ์และดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ดังนี้
ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่นำมาปรับใช้กับการรองรับการเปลี่ยนแปลงและเติบโตของโลกธุรกิจในอนาคต มีเป้าหมายในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลแก่บุคลากรภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านดิจิทัลให้แก่ลูกค้า คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน โดยในปี 2565 สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
1. ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง (Up & Reskills)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลแก่พนักงานเพื่อให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทต่างๆ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้พนักงานสามารถขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องไปในโลกธุรกิจแห่งอนาคต โดยในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินแผนงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2 แผนงานหรือกิจกรรม ประกอบด้วย
1.1 แผนงานการพัฒนาสมรรถนะพนักงานรองรับองค์กรแห่งอนาคตในยุคดิจิทัล
ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานมีสมรรถนะสามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และรองรับองค์กรแห่งอนาคตในยุคดิจิตอล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ (ก) การทบทวนและพัฒนาทักษะเดิมให้มีประสิทธิภาพ (Reskill) (ข) การสร้างทักษะใหม่ และ การเพิ่มทักษะ (Upskill) เพื่อสร้างความพร้อมในการรองรับต่อการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล และ (ค) การพัฒนาทักษะความยืดหยุ่นรองรับความคลุมเครือ (Agile Thinking)
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2565 บริษัทฯ ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือสมรรถนะ (Competency) มาปรับใช้ และมีการพัฒนาพนักงานผ่านรูปแบบทั้งการอบรมสาธารณะ การอบรมภายในสำนักงาน และการอบรมผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 19 หลักสูตร เช่น หลักสูตร Digital Event Strategist (DES) 2022 หลักสูตร Metaverse 2.0 และหลักสูตร Digital Transformation Leadership เป็นต้น
1.2 PICO’s Knowledge Sharing สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แห่งอนาคต
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แห่งอนาคต จึงได้ดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสร้างบรรยากาศและสังคมที่มีการเปิดกว้างและมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้เกิดการพัฒนาเชิงความคิดรองรับธุรกิจดิจิทัล
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2565 ที่บริษัทฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานได้มีโอกาสในการนำเสนอและแบ่งปันองค์ความรู้ดิจิทัลและประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านการจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ หรือ Knowledge Sharing Session ต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องตลอดปี เช่น Mastering Digital Leadership และรายการ Digital Alert เป็นต้น
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการด้านดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ ได้นำนโยบาย Experience-led, Digital-first มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านดิจิทัล ได้แก่ การบริหารจัดการอีเว้นท์เสมือนจริงหรือรูปแบบผสมผสาน (Hybrid & Virtual Event Management) และ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่างๆ ด้วยการบูรณาการดิจิทัล (Experience Learning Center with Digital Integration) เพื่อให้บริการ สื่อสาร และส่งมอบคุณค่าอันโดดเด่น และสร้างประสบการณ์ใหม่มากขึ้น เพื่อสนับสนุนและตอบโจทย์ให้เกินความคาดหวังของลูกค้า และคู่ค้าอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่จำกัดและท้าทาย เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่แบรนด์หรือหน่วยงานของลูกค้า พร้อมกับเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของธุรกิจให้ดำเนินไปอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน
ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในการเป็นส่วนหนึ่งของการส่งมอบคุณค่าโครงการที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ผ่านบริการการบริหารจัดการอีเว้นท์เสมือนจริงหรือรูปแบบผสมผสาน (Hybrid & Virtual Event Management with Digital Integration) ประกอบด้วย 2 ประเภทกิจกรรม ได้แก่
1) การบริหารจัดการงานอีเว้นท์เสมือนจริวหรือรูปแบบผสมผสาน (Hybrid &Virtual Event Management)
งาน STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2022: SITE 2022” ภายใต้แนวคิด “"Reconnecting the World เชื่อมเรา เชื่อมโลก กลับมาเจอกัน” การยกระดับเทคโนโลยีเชิงลึก…นวัตกรรมด่านหน้าแห่งอนาคตที่จะมาขับเคลื่อนประเทศ เมื่อวันที่ 22 – 25 มิถุนายน 2565 ณ อาคารอุทยานนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้มอบหมายทางบริษัทฯ เป็นปีที่ 7 ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนจัดงานรูปแบบไฮบริดซึ่งผสมผสาน Metaverse และ Web 3.0 มาเป็นช่องทางในการจัดงานหลัก และมีส่วนนิทรรศการแบบ Physical บางส่วนที่สำนักงานฯ นำเสนอประสบการณ์ใหม่ด้วยจักรวาลนฤมิต (Metaverse) เต็มรูปแบบ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม คือ Forum | Opportunities (Market Place, Business Consulting & Matching) | Show | Awards นำเสนอประสบการณ์ที่สามารถสร้างตัวตน (Avatar) และทำกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนคู่ขนานไปกับโลกจริงทางกายภาพได้อย่างกลมกลืน ตั้งแต่รับผิบชอบวางแผน ออกแบบ และพัฒนาโครงการดังนี้
- วางแผนงานสร้างสรรค์ ออกแบบ และพัฒนาโครงการ โดยใช้เทคโนโลยี Web 3.0 และ Metaverse มาเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่การจัดงาน
- สร้าง Web 2.0 platform เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์งาน ลงทะเบียนเพื่อร่วมชมงาน ร่วมฟังเสวนา และติดต่อเจรจาธุรกิจ หรือขอรับคำปรึกษาจาก Mentor ชั้นนำของประเทศ
- ออกแบบเวทีในห้องประชุมต่างๆ เปลี่ยนฉากหลังเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ เพื่อทดแทนโครงสร้างไม้แบบเดิม และสามารถเปลี่ยน VDO & Motion Graphic ให้เข้ากับแต่ละหัวข้อการประชุมได้น่าสนใจกว่างานกราฟิก
- สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยการเพิ่มเติมกลไกหรือลูกเล่น (Gimmick) สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้วยของที่ระลึก โดยสร้าง NFT พิเศษของงาน SITE 2022 และ มอบให้ผู้ร่วมงาน เพื่อเก็บใน e-Wallet เป็นที่ระลึก
ทั้งนี้ การมาของจักรวาลนฤมิต หรือ Metaverse ในครั้งนี้ยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้จัดงานและผู้เข้าร่วมงานได้แบบเรียลไทม์ ได้รับสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้เข้าร่วมงาน เช่น การพูดคุยกับวิทยากรผ่านโลกเสมือน (Metaverse Forums) การรับชมสินค้าและบริการในโลกเสมือน (Metaverse Marketplace) อีกด้วย และยังได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามจากคนในวงการทั้งสตาร์ทอัพและนวัตกรรม ที่ต่อยอดให้เกิดกระแสการจัดงานในรูปแบบเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Immersive Technology) ให้ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จึงได้ผลักดันให้แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นกลไกหนึ่งของการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมแก่ธุรกิจไทยที่เชื่อมต่อเมืองนวัตกรรมจากทั่วโลกต่อไป
งาน HackaThailand 2022 Online Platform | TRUE Digital Park ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง กรกฎาคม 2564 - เมษายน 2565 เป็นโครงการเพื่อหาทางออกให้ประเทศไทย ด้วยการบ่มเพาะองค์ความรู้ดิจิทัลให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ และชวนมารวมตัวกันเพื่อตีโจทย์ให้ประเทศไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ พร้อมยกระดับทักษะด้านดิจิทัลแก่ประชาชน รองรับความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจในยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อีกทั้งกระตุ้นการรับรู้แก่ภาคเศรษฐกิจและสังคมให้เห็นว่า ดิจิทัลสร้างให้ทุกโอกาสเกิดขึ้นได้ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ HACKaTHAILAND Online Learning Platform, HACKaTHAILAND Competition & Beyond Hackathon และ HACKaTHAILAND Hybrid Exhibition
บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจรับผิดชอบจัดงานดังนี้
- งานวางแผนงานสร้างสรรค์ ออกแบบ และพัฒนาโครงการ โดยใช้แนวคิด Hybrid Event โดยการสร้าง Website เพื่อเป็น platform ศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์งาน ลงทะเบียนเพื่อร่วมเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ แบบ Online ผ่าน E-Learning platform และรวบรวมทีมเข้าแข่งขัน และร่วม Online workshop ก่อนเข้าสู่รอบ Hackathon ที่กลับมาจัดแบบ Physical Event กว่า 168 ชั่วโมง
- งาน Physical Event ใช้กลยุทธ์ในการออกแบบและสร้างงานด้วยการ ลดใช้โครงสร้างไม้ และ PVC Graphic โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบให้ใช้โครงเหล็ก, ทรัส, โครงนิทรรศการสำเร็จรูป Maxima และ Pifex รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้ Vinyl Graphic ที่หลังงานสามารถนำไป Recycle เป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นต่อได้
- งานเวทีในห้องประชุมต่างๆ เปลี่ยนฉากหลังเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ เพื่อทดแทนโครงสร้างไม้แบบเดิม และสามารถเปลี่ยน VDO & Motion Graphic ให้เข้ากับแต่ละหัวข้อการประชุมได้น่าสนใจกว่างานกราฟิก
กิจกรรม HACKaTHAILAND Competition & Beyond Hackathon สามารถสร้างปรากฏการณ์ ด้วยการนำคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียกว่า 500 คน 100 ทีม มาร่วมแก้โจทย์ใหญ่ระดับประเทศในการขับเคลื่อน 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ภาคการเกษตร (Agriculture) การท่องเที่ยว (Tourism) และการขนส่ง (Industrial and Logistics)
2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงประสบการณืต่าง ด้วยการบูรณาการดิจิทัล (Experience Learning Center with Digital Integration)
ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Digital Pops)
เนื่องจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน ทางพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้มอบโอกาสสำคัญให้แก่บริษัทฯ ในการพัฒนาการนำเสนอ พัฒนาเนื้อหาและก่อสร้างนิทรรศการ Digital Pops โดยนิทรรศการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะตอบสนองการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในอนาคต ซึ่งในพื้นที่กว่า 500 ตรม. นี้ประกอบด้วย 7 นิทรรศการหลัก ได้แก่ 1) Computer 2) Logic and Algorithm 3) Coding 4) Programming 5) Quantum Computer 6) Digital Literacy และ 7) Hello World โดยในการออกแบบการเรียนรู้ในนิทรรศการจะเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมผ่านระบบ Interactive และการทดลองต่างๆ เช่น โปรแกรม Interactive ที่ผู้เข้าชมสามารถทดลองเขียน Code ได้จริง การนำเสนอผ่าน Interactive Floor Projection เพื่อเสริมการเรียนรู้ในการเขียนโปรแกรม รวมไปถึง การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อมัลติมีเดีย เช่น Mini Theater แบบเปิด หรือการนำเสนอในรูปแบบ ของ Installation Art ที่จะให้ความรู้และเป็นจุดถ่ายรูปอีกด้วย
เป็นกลยุทธ์ที่บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นของความปลอดภัยและข้อมูลที่เชื่อถือได้ของลูกค้า ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไป อันเป็นการรองรับโลกธุรกิจดิจิทัลและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในปีที่ผ่านมาจึงได้กำหนดมาตรการในการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) ขึ้นเพื่อรองรับการสร้างความน่าเชื่อถือและปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า หรือผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมกับลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้แก่พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมกำลังคนให้พร้อมรองรับการมุ่งพัฒนาธุรกิจ Go Digital เช่น การย้ำเตือนเรื่องกฎหมาย PDPA นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง การอบรมเรื่องวิธีการตรวจ และตอบคำถาม Internal Audit ISO & PDPA เป็นต้น (รายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนการบริหารจัดการความเสี่ยง)
มิติด้านสังคม:
เพราะเราเชื่อว่า “คุณภาพของการศึกษา” คือคุณค่าที่สำคัญที่สุดของทั้งองค์กรและสังคมที่ยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ จึงกำหนดกลยุทธ์และดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของ “คน” ในเรื่องการศึกษา การพัฒนาครู แหล่งเรียนรู้ต่างๆ และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรับใช้กลยุทธ์ด้านคอนเทนต์และคอมมูนิตี้ (Content and Community Strategies) โดยเน้นในหน่วยธุรกิจด้านการสื่อสารองค์ความรู้ (Knowledge Communication) ในทุกรูปแบบ มีเป้าหมายเพื่อสร้างผลกระทบที่ดีและยั่งยืนต่อคุณภาพสังคมในระยะยาว ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่
กว่า 15 ปี บริษัทฯ ได้ยังคงยึดมั่นดำเนินกลยุทธ์ ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาครูอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของนโยบายการพัฒนาองค์กรและสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) ต่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมุ่งมั่น “ส่งมอบองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ด้วยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพสังคมที่ดีและยั่งยืน (Creating Impactful Content Knowledge and Experiences-led with Digital-first for Empowering Better Community and Sustainability) ” ตามภารกิจที่บริษัทฯ ตั้งไว้ โดยจัดตั้ง ฝ่าย Education Communication ขึ้นมาโดยเฉพาะที่ดำเนินภารกิจสำคัญในการดำเนินงานด้านการศึกษา มีหน้าที่หลักด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการพัฒนาวิชาชีพครู บนฐานความรู้และงานวิจัย และการสร้างเครือข่ายที่เข้มเข็งในทุกระดับเพื่อความยั่งยืน
ในปี 2565 ที่ผ่านมา แม้ว่า ปิโก (ไทยแลนด์) จะเผชิญกับความท้าทายในข้อจำกัดของการสื่อสารความรู้ในรูปแบบ Face to Face แต่บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และรูปแบบการสื่อสารองค์ความรู้เป็น Go Digital และสื่อสารองค์ความรู้คู่ประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อกลุ่มเป้าหมายและสังคมในวงกว้าง
บริษัทฯ ยังคงพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจยั่งยืนภายใต้แนวคิดสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม กล่าวคือ พลิกโฉมสร้างสรรค์ Education Communication เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการศึกษา โดยเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพวิชาชีพครู เช่น EDUCA, Teachers as Learners เป็นต้น มุ่งสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบ Digital Content เพื่อช่วยเหลือครูและผู้เกี่ยวข้องทางการศึกษาในภาวะวิกฤต ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล จนสามารถสร้างผลกระทบวงกว้าง ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่
- EDUCA x Mahidol Kids คิดเพื่อครู งานสัมมนาออนไลน์ด้านการพัฒนาครูบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
- EDUCA Online Festival 2022 งานเทศกาลมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูและการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งที่ 3
- กิจกรรมสื่อสารองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ปี 3
ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมาดังนี้
1) EDUCA x Mahidol Kids คิดเพื่อครู งานสัมมนาออนไลน์ด้านการพัฒนาครูบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
โครงการ Mahidol Kids คิดช่วยครู” ริเริ่มขึ้นในพ.ศ.2565 ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง แพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพครู EDUCA โดยบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และ Mahidol Channel ในช่อง Mahidol Kids มีที่มาจาก ความตระหนักถึง สถานการณ์ความยากลำบากในการจัดการเรียนรู้ในภาวะโรคระบาดโคโรน่าไวรัสที่ผ่านมา และความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับครูก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2565 ที่กำลังจะมาถึง ทั้งสองหน่วยงานเจ้าภาพ จึงร่วมมือกันจัด “โครงการ Mahidol Kids คิดช่วยครู” ขึ้น
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนัก และเผยแพร่เนื้อหาต่าง ๆ ของรายการบนช่อง Mahidol Kids ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพให้เป็นที่รู้จักของครูไทยและบุคลากรทางการศึกษา และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีแนวทางประยุกต์ใช้เนื้อหารายการให้เข้ากับบริบทการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนตนได้ เพื่อตอบสนองความท้าทายในการจัดการเรียนรู้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด
ทั้งนี้ กิจกรรมของโครงการ “Mahidol Kids คิดช่วยครู” จัดขึ้นเมื่อ วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ในรูปแบบของ Online Event และ Video On-demand Workshop บนแพลตฟอร์มของ EDUCA www.event.educathai.com/mahidolkids โดยแบ่งเป็น 1) กิจกรรม Live Session ในวันงาน และ 2) Video On-demand workshop จำนวน 5 เรื่อง (สามารถรับชมย้อนหลังได้) โดยครูและบุคลากรที่สนใจ สามารถลงทะเบียน ร่วมงาน และได้รับเกียรติบัตรตามเงื่อนไข โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 8,767 คน |
ระยะเวลาในการรับชม video content | 18,777 ชั่วโมง |
ค่าเฉลี่ยระยะเวลารับชมออนไลน์ต่อคน | 38 นาที |
จำนวนดาวน์โหลดเกียรติบัตร | 30,000 ครั้ง |
2) EDUCA ต้นแบบนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูและการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่15 ระหว่างวันที่ 18 – 20 ตุลาคม 2565
ในปี 2565 นับเป็นปีที่ 15 ของการจัดงาน EDUCA ในรูปแบบเทศกาลมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู) ภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมสร้างคุณค่า ใหม่ เรียนรู้เพื่อชีวิต” (Value Creation…Learn For Life) ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนาครูของประเทศในรูปแบบกิจกรรมประจำปีบนแพลตฟอร์มดิจิทัลทาง event.educathai.com/educa2022 ซึ่ง EDUCA ได้จัดงานด้วยการปรับใช้กลยุทธ์ด้านคอนเทนต์และคอมมูนิตี้ (Content and Community Strategies) ยึดมั่นสื่อสารเชื่อมโยงความรู้ใหม่ และจำเป็นสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทั้งระบบตั้งแต่ครู ครูใหญ่ คณาจารย์และนักการศึกษาจากสถาบันผลิตครูจากทั่วประเทศ ผู้บริหารทางด้านการศึกษาของเขตพื้นที่และท้องถิ่น ผู้กำหนดนโยบาย และบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนหลักร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน มากกว่า 20 หน่วยงาน วิทยากรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศประมาณ 300 คน และพันธมิตร Host ร่วมกันจัดงาน EDUCA2022 ได้แก่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย ตลอดจนเจ้าภาพร่วมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก จัดกิจกรรมการสัมมนากลุ่มย่อยและการประชุมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ video on-demand 50 หัวข้อ เสวนาฟอรัมครูใหญ่ ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างมูลค่า ให้โรงเรียน ครู และผู้เรียนทุกคน ด้วยมือผู้บริหารโรงเรียน” และกิจกรรมสัมมนา webinar ตลอด 3 วัน
กิจกรรมแนวคิดหลักของงาน สร้างคุณค่าให้ชีวิต และมูลค่าเชิงเศรษฐกิจแก่ผู้เรียน ภายใต้ธีม "Value Creation: Learn for Life" ร่วมสร้างคุณค่าใหม่...เรียนรู้เพื่อชีวิต จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 ตุลาคม 2565 เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู การปรับตัวด้านการเรียนการสอนในภาวะวิกฤต ทั้งนี้ ได้ขยายเวลาให้มีการรับชมสัมมนาออนไลน์ในรูปแบบ video on-demand ได้จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เพื่อสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ทุกที่ทุกเวลา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงองค์ความรู้ในภาวะวิกฤต และช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสังคมแห่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสร้างผลกระทบที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมที่ดีขึ้นและยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน
จำนวนผู้เข้าร่วมมหกรรมออนไลน์ | 5,000 คน |
ระยะเวลาในการรับชม video content วิดีทัศน์สัมมนาออนไลน์สะสม | 22,000 ชั่วโมง |
จำนวนยอดเข้าชมเว็บไซต์สะสม | 1,200,000 ครั้ง |
จำนวนยอดเข้าถึงใน Facebook Page | 3,300,000 ริช |
จำนวนผู้ติดตาม Facebook | 102,000 ผู้ติดตาม |
จำนวนผู้ติดตาม Line Official | 9,300 คน |
ค่าเฉลี่ยระยะเวลารับชมออนไลน์ต่อคน | 51 นาที |
3) กิจกรรมสื่อสารองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ปี 3
ในปี 2565 บริษัทฯ โดยฝ่าย Education Communication ได้ดำเนินกิจกรรมสื่อสารองค์ความรู้พัฒนาการเรียนการสอนช่วงวิกฤติย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้กลยุทธ์ด้านด้านคอนเทนต์และคอมมูนิตี้ (Content and Community Strategies) มาใช้ศึกษาวิจัยกลุ่มเป้าหมายครู (Users) วิเคราะห์และพัฒนาดิจิทัลคอนเท้นต์ในรูปแบบต่างๆ ที่ทันสมัยต่อวิกฤตการณ์ จนสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาเชิงดิจิทัล (digital content) เพื่อสื่อสารองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
- จัดรายการสัมมนาออนไลน์ “จันทร์ปลุกโปรย” ปลุกโปรยความดีงามในตัวครู ก่อนเข้าเรียน EDUCA Online Workshops และ Teacher Tonight ถามตอบปัญหาครู ที่ร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในระดับประเทศเพื่อสื่อสารแนวทางการพัฒนาและปรับตัวการเรียนการสอนภายใต้ภาวะวิกฤต ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของครู ครูใหญ่ และนักการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ปกครองและสาธารณชน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงกันยายน 2565 จำนวน 70 ตอน ผ่านทางช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของ EDUCA Page
- จัดทำแม็กกาซีนออนไลน์และเอกสารที่รวบรวมเนื้อหาเทคนิคการสอนออนไลน์จากต่างประเทศ จำนวน 12 ฉบับ
- จัดทำบทความออนไลน์ จำนวน 100 เรื่อง และอินโฟกราฟฟิกมากกว่า 300 ชิ้น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงตุลาคม 2565 สื่อสารผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของ EDUCA และเว็บไชต์ www.educathai.com
ผลการดำเนินงาน
จากการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่าน "สื่อสารองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน ปี 3" ในรูปแบบรายการ Live บทความ แม็กกาซีนออนไลน์ และสื่ออินโฟกราฟฟิก ผลปรากฏว่า กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครู ครูใหญ่ นักการศึกษา ผู้ปกครอง และสาธารณชนทั่วไปสนใจเนื้อหาและมียอดเข้าชมเนื้อหาสะสมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ตลอดปีที่ผ่านมา ดังนี้
จำนวนการรับชมเนื้อหาทางเว็บไซต์ | มากกว่า 1,200,000 ครั้ง |
จำนวนเข้าถึงเนื้อหาทาง Facebook | มากกว่า 3,300,000 โพสริช |
จำวนมีปฏิสัมพันธ์กับ Facebook | มากกว่า 650,000 engagement |
จำนวนดาวน์โหลดเอกสารออนไลน์ | มากกว่า 64,000 ครั้ง |
บริษัทฯ ได้นำนโยบาย Experience-led, Digital-first มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดกลยุทธ์นอกจากการเป็นผู้พัฒนาเองดังที่กล่าวในกลยุทธ์ข้างต้นแล้ว ยังนำมาเป็นรากฐานในการพัฒนาบริการธุรกิจการสื่อสารองค์ความรู้ที่มีผลกระทบและคุณค่าต่อสังคมในวงกว้าง โดยในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินกลยุทธ์พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในรูปแบบผสมผสานมากขึ้น เพื่อสนับสนุนสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงาน
ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในการเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการด้านการสื่อสารองค์ความรู้คู่ประสบการณ์ด้วยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ สู่การส่งมอบคุณค่าความรู้ให้แก่สังคมอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการที่สำคัญ ได้แก่
- Mahidol Channel มหิดล แชนแนล เป็นแหล่งสื่อสารองค์ความรู้ ด้านสุขภาพ อาหาร การออกกำลังกาย โดยอาจารย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ของคณะต่างๆ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบออนไลน์ทางช่องทางเว็บไซต์ และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ ยูทูป เฟซบุ๊ก ไลน์ ฯลฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจให้เป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการผลิตคอนเทนต์และสื่อสารองค์ความรู้มาเป็นปีที่ 10 และได้ร่วมพัฒนาเนื้อหาในรูปแบบรายการใหม่ๆ อาทิเช่น Mahidol Kids คิดช่วยครู เป็นต้น เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่และร่วมส่งมอบความรู้ที่ช่วยเหลือสังคมในยามวิกฤตได้อย่างต่อเนื่อง
ในปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มมหิดล ชาแนลได้รับการตอบรับอย่างดีและมีผู้ติดตามทางสื่อโซเชียลมีเดียรวมมากกว่า 1,220,000 ผู้ติดตาม ยอดรับชมสะสม 242,109,740 ครั้ง (Views) และมีสื่อวิดีโอสะสมตั้งแต่ก่อตั้งมากกว่า 3,000 ตอน
1. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปีที่ผ่านมาจะคลี่คลายขึ้น แต่บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากรและดูแลสุขภาวะของบุคลากรอย่างที่เคยทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำหนดมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานมีความปลอดภัย และยังคงมีการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปีเพื่อดูแลสุขภาพของพนักงาน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมภายในบริษัทฯ เสริมสร้างให้พนักงานมีความผ่อนคลายและมีสุขภาวะที่ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อคู่ค้าที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยการให้ความรู้ในเรื่องความปลอดภัยในดำเนินงาน เพื่อให้พนักงานของบริษัทคู่ค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกัน
ผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา พนักงานได้รับการดูแลป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 และการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมดูแลสุขภาพ และกิจกรรมเพื่อสร้างสมดุลในการทำงาน เช่น กิจกรรม Retro X Bowling Networking
2. โครงการ PICO HYGIENIC CANTEEN
บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการช่วยเหลือชุมชนและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนโดยรอบมาอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติมาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ จึงได้จัดสรรพื้นที่ให้แก่ชุมชนในการประกอบกิจการเสริมสร้างรายได้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนโดยรอบและพนักงาน
ผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ Pico Hygienic Canteen มาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาให้กับร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ให้มีความรู้และความพร้อมปรับเปลี่ยนร้านค้าให้มีมาตรการการดูแลความสะอาดและความปลอดภัย เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย สามารถควบคุมคุณภาพ และพัฒนาเมนูอาหารต่างๆ เพื่อส่งเสริมกิจการให้มีความยั่งยืน
มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)
เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณค่าและคุ้มค่ามากที่สุดกลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขับเคลื่อนความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งกำหนดเป็นกลยุทธ์มิติด้านสิ่งแวดล้อมเป็น 3 ด้าน ครอบคลุมภายในองค์กร การให้บริการแก่ลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงการมีส่วนร่วมต่อชุมชน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 2) ลดการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด BCG ส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) 3) การมีส่วนร่วมต่อสังคมและเศรษฐกิจชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการภายในองค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานและเครือข่ายมีส่วนร่วมการดำเนินงาน โดยส่งเสริมองค์ความรู้บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการ 3R โครงการ Pico Global Care in Action และโครงการปฏิทินสานรักษ์
1. โครงการ 3R
บริษัทฯ นำนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมของปิโก กรุ๊ป (Pico Eco) มาปรับให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม การดำเนินงานของบริษัทฯ โดยการส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการร่วมกันจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการกับการดำเนินงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน นโยบายดังกล่าวเน้นเรื่อง 3R ได้แก่ Reduce ลดการใช้ทรัพยากร Reuse นำทรัพยากรมาใช้ซ้ำ และ Recycle แปรรูปทรัพยากรเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ปีที่ผ่านมาได้นำมาตรการ 3R มาใช้ในการดำเนินงานของบริษัทฯ มีดังนี้
REDUCE: การลดการใช้ทรัพยากร
- โครงการ “Think before You Print” เพื่อรณรงค์การลดการใช้กระดาษ โดยเน้นการลดปริมาณการพิมพ์ Email และข้อมูลต่างๆ ที่ส่งผ่านทาง Email โดยพนักงานจะมีโลโก้ Pico Eco พร้อมข้อความ “Think before You Print” ใน e-Signature ของพนักงาน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการดังกล่าว ทางบริษัทฯ ได้เพิ่มฟังก์ชันของเครื่องพิมพ์ (Printer) โดยพนักงานต้องใส่รหัสส่วนตัวที่เครื่องพิมพ์ก่อน พิมพ์เอกสารการตั้งค่าเครื่องพิมพ์ดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดปริมาณกระดาษและหมึกพิมพ์ จากการพิมพ์โดยไม่ตั้งใจได้เป็นจำนวนมาก
- การส่งเสริมการส่งมอบรายงานแก่ลูกค้า ในรูปแบบ Soft file เพื่อลดการใช้กระดาษและการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งได้ใช้สำหรับการส่งมอบงานแก่ลูกค้ารายใหญ่บางรายแล้ว
- การส่งเสริมการลดการใช้พลังงานในสำนักงาน โดยรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงาน เพื่อสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานในระยะยาว โดยอาศัยความร่วมมือจากพนักงานทุกฝ่าย เช่น การใช้ระบบ e-Leaving ระบบวันลาออนไลน์ เพื่อลดการใช้กระดาษ และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
- การรณรงค์ให้พนักงานลดปริมาณขยะ และการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง โดยรณรงค์ให้พนักงานนำภาชนะหรือแก้วของตนเองมาและจะได้รับส่วนลดค่าเครื่องดื่ม ซึ่งทำให้ปริมาณขยะจากแก้วกระดาษในสำนักงานลดลง
REUSE: การนำทรัพยากรมาใช้ซ้ำ
- การเน้นการใช้โครงสร้าง วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ในการสร้างสรรค์งานให้ลูกค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ เช่น การให้บริการ Pico Dome ซึ่งประหยัดในเรื่องการขนส่ง ลดการก่อสร้าง และลดปริมาณขยะที่เกิดจากการก่อสร้างและรื้อถอนด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการเสนอแนะและแนะนำให้ลูกค้าใช้งานโครงสร้าง และอุปกรณ์ตกแต่งงานที่สามารถใช้ซ้ำได้ เพื่อลดต้นทุนทั้งของบริษัทและของลูกค้า และในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนโครงการนิทรรศการศิลปะสะท้อนประเด็นความหลากหลายทางเพศและบทบาททางการแพทย์ ของสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์เอเชียแห่งประเทศไทย ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน - 9 ตุลาคม 2565 ด้วยการนำโครงสร้าง วัสดุ และอุปกรณ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้จากโครงการที่เสร็จสิ้นแล้วมาใช้ในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้
- โครงการ “Give Me a Second Chance” เป็นการรณรงค์การใช้กระดาษหน้าที่ 2 โดยส่งเสริมให้พนักงานนำกระดาษที่ใช้งานเพียงหน้าเดียวกลับมาใช้หรือพิมพ์อีกครั้งเพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษและขยะในสำนักงาน ความร่วมมือดังกล่าว ส่งผลให้ปริมาณการใช้กระดาษของบริษัทฯ ลดลง
RECYCLE: การแปรรูปทรัพยากรเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
- การนำขยะของบริษัทฯ ไปรีไซเคิล โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีการแยกขยะเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่
- ขยะที่สามารถนำไป Recycle ได้ เช่น ขวดแก้ว พลาสติก กล่องกระดาษ และเอกสารที่ย่อยทำลาย
- กระดาษที่ใช้ทั้งสองหน้าแล้วและไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัท และ
- ขยะทั่วไป
โดยสำหรับขยะในกลุ่มแรก บริษัทฯ จะขายต่อให้ผู้รับเหมาขยะไปแปรรูปต่อไป ส่วนขยะในกลุ่มที่ 2 บริษัทฯ จะรวบรวมไว้เพื่อส่งมอบต่อให้หน่วยงานนำไปย่อยเพื่อใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ต่อไป และสำหรับขยะทั่วไป บริษัทฯ จะนำไปทิ้งทำลายตามปกติ
2. โครงการ PICO GLOBAL CARE IN ACTION
ภายใต้นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมของ PICO Group และสาขาต่าง ๆ ทั่วโลก บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) และบริษัทในเครือดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ร่วมกันรณรงค์ปิดไฟพร้อมกันเพื่อประหยัดพลังงานภายใต้แคมเปญ Global Care in Action ประจำทุกปี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2565 ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา พบว่า สามารถประหยัดพลังงาน คิดเป็นจำนวนมากกว่า 480 ชั่วโมง ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การดำเนินการของบริษัทฯ แต่บริษัทฯ ยังขยายผลให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมที่บ้านด้วย
3. โครงการปฏิทินสานรักษ์
โครงการปฏิทินสานรักเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อรับบริจาคปฏิทินที่พนักงานหรือคู่ค้าหรือผู้ที่ไม่ประสงค์ใช้แล้วในแต่ละปี นำไปบริจาคให้แก่ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตภัณฑ์อักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานในการสร้างสรรค์และช่วยเหลือสังคม ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รวบรวมปฏิทินของพนักงานทุกคนและนำไปส่งมอบให้กับศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด จำนวนกว่า 100 ฉบับ
จากความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ได้ริเริ่มนำร่องแนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมมาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ BCG Model : Bio-Circular-Green Economy” ในมิติต่างๆ ของบริการตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดังต่อไปนี้
1. APEC BUSINESS ADVISORY COUNCIL (ABAC) 2022 และ APEC CEO SUMMIT 2022
บริษัทฯได้นำแนวคิด BCG พัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการให้บริการอย่างยั่งยืนมาปรับใช้กับโครงการ ระดับนานาชาติ APEC BUSINESS ADVISORY COUNCIL (ABAC) 2022 และการจัดงาน APEC CEO SUMMIT 2022 เมื่อวันที่ 14 - 18 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี กรุงเทพฯ / มิวเซียมสยาม / River Park, ICONSIAM / Royal Paragon Hall ภายใต้แนวความคิดหลักของงาน “Embrace Engage Enable” เปิดรับโอกาสใหม่ๆที่กำลังมาถึง การสอดประสานความร่วมมือ และการร่วมผลักดันสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายของการสนับสนุนการเร่งการฟื้นตัว และการกลับมาสร้างแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจใหม่อีกครั้งเป็นประการสำคัญ
บริษัทฯ ได้รับมอบหมายให้เป็น Turnkey Local Organizer Services ตั้งแต่เริ่มวางแผนงาน สร้างสรรค์ออกแบบแนวคิดของงาน, Logo และภาพกราฟิกในการสื่อสาร รวมถึงการบริหารจัดการภายในงาน และงานเลี้ยงรับรองทั้งหมด ดังนี้
- ในส่วนการวางแผนงานสร้างสรรค์ ออกแบบ และก่อสร้างงาน ได้ใช้แนวคิดลดสิ่งของเหลือทิ้งหลังจากการจัดงานอย่างจริงจัง อาทิเช่น การลดใช้โครงสร้างไม้ และ PVC Graphic โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ให้ใช้โครงเหล็ก, ทรัส, โครงนิทรรศการสำเร็จรูป Maxima และ Pifex รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้ Vinyl Graphic ที่หลังงานสามารถนำไป Recycle เป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นต่อได้
- ในส่วนของเวทีในห้องประชุมต่างๆ เปลี่ยนฉากหลังเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ เพื่อทดแทนโครงสร้างไม้แบบเดิม และสามารถเปลี่ยน VDO & Motion Graphic ให้เข้ากับแต่ละหัวข้อการประชุมได้น่าสนใจกว่างานกราฟิก
- การใช้ Digital Signage ในส่วนนิทรรศการ ผู้สนับสนุนการจัดงาน และป้ายบอกทิศทางในงานเพื่อลดการสร้างโครงสร้าง และกราฟิกต่างๆ
- ในส่วนการบริหารจัดการการประชุม ได้ร่วมมือกับทางโรงแรมฯ ใช้น้ำขวดแก้ว เพื่อลดปริมาณขวดพลาสติก
จะเห็นได้ว่า การจัดงานครั้งนี้ช่วยจุดประกายความคิด สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตั้งแต่ระดับท้องถิ่นสู่ระดับเศรษฐกิจนานาชาติเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. Inclusive Growth Day 2022 Empowered by OR
ในปีที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกของ OR ในกลุ่ม ปตท. กรุ๊ป (PTT Group) ในการจัดงาน Inclusive Growth Day 2022 empowered by OR เมื่อวันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565 ที่ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 เพื่อนำเสนอถึง “โอกาส” ในการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน โดยมีทั้งเวทีเสวนา นิทรรศการ และกิจกรรมที่ตั้งต้นอยู่บนแนวคิด โครงการขับบเคลื่อนธุรกิจและสังคม เชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนผู้ประกอบการไทย ให้เติบโตร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมในงานประกอบด้วย Opportunity Stage เวทีอัพเดตวิสัยทัศน์แห่งโอกาสจากวิทยากรชั้นนำ ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน และนิทรรศการ Seamless Mobility, All Lifestyle in one App, Global Market, OR Innovations รวมถึงการจัดแสดงบูธจาก Startup รุ่นใหม่ของไทย
บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจในการจัดงานตั้งแต่วางแผน ออกแบบ และก่อสร้างภายใต้แนวคิดขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วยการส่งเสริมแนวคิด Circular Design ในการดำเนินกิจกรรมให้บริการที่มีความพร้อมโดยมุ่งเน้นการออกแบบและสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดด้วย Zero Waste เพื่อลด กำจัด และใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ดังนี้
- ในส่วนการวางแผนงานสร้างสรรค์ ออกแบบ และก่อสร้างงาน ได้ใช้แนวคิดลดสิ่งของเหลือทิ้งหลังจากการจัดงานอย่างจริงจัง อาทิเช่น การลดใช้โครงสร้างไม้ และ PVC Graphic โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ให้ใช้โครงเหล็ก, ทรัส, โครงนิทรรศการสำเร็จรูป Maxima และ Pifex รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้ Vinyl Graphic ที่หลังงานสามารถนำไป Recycle เป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่นต่อได้
- ในส่วนของเวทีในห้องประชุมต่างๆ เปลี่ยนฉากหลังเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ เพื่อทดแทนโครงสร้างไม้แบบเดิม และสามารถเปลี่ยน VDO & Motion Graphic ให้เข้ากับแต่ละหัวข้อการประชุมได้น่าสนใจกว่างานกราฟิก
- ลดการแจกเอกสารในบูธนิทรรศการ ใช้ QR Code เพื่อให้ผู้ชมงานเลือกสแกนรับ e-brochure แทน
3. Sustainability Expo 2022 (SX 2022)
การกลับมาจัดงานแบบ Physical เต็มรูปแบบอีกครั้ง ของมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน เต็มพื้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ Sustainability Expo 2022 (SX 2022) เมื่อวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 SX 2022 เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมรับรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของศาสตร์พระราชา และความยั่งยืนของโลก โดยแสดงให้เห็นในความยั่งยืนที่โยงใยทุกมิติของชีวิต งาน SX2022 ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ นักคิด นักปฏิบัติระดับประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงชุมชนที่เข้าร่วม นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกผ่ายทำให้งานประสบความสำเร็จ ได้รับความสนใจจากประชาชนทุกภาคส่วนที่มาร่วมงานและรับแรงบันดาลใจกลับบ้านไป ภายในงานประกอบด้วยเวทีเสวนา องค์ความรู้ด้านความยั่งยืน, นิทรรศการเกี่ยวกับความยั่งยืน ทั้งจากพันธมิตรองค์กรภาครัฐ เอกชน หน่วยงานด้านการศึกษา ศาสนา และภาคประชาสังคม, โซนกิจกรรมเยาวชน, โซนอาหาร และกิจกรรมมากมายตลอดช่วงเวลาจัดงาน
ในการดำเนินงาน บริษัทฯ ได้วางแผน ออกแบบ และสร้างบูธนิทรรศการภายใต้แนวคิดความยั่งยืน ดังนี้
- ลดการใช้โครงสร้างไม้ และ PVC Graphic โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ให้ใช้โครงเหล็ก, ทรัส, โครงนิทรรศการสำเร็จรูป Maxima และ Pifex รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้ Vinyl Graphic ที่หลังงานสามารถนำไป Recycle เป็นถุง Tote Bag ใส่หนังสือ ให้โรงเรียนในชนบท
- ในส่วนของเวทีในห้องประชุมต่างๆ เปลี่ยนฉากหลังเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ เพื่อทดแทนโครงสร้างไม้แบบเดิม และสามารถเปลี่ยน VDO & Motion Graphic ให้เข้ากับแต่ละหัวข้อการประชุมได้น่าสนใจกว่างานกราฟิก และใช้วัสดุ Recycle เพื่อตกแต่งส่วนเวที รวมถึงใช้ต้นไม้ (ทั้งกระถาง) เพื่อตกแต่งบริเวณบูธนิทรรศการ ซึ่งสามารถนำไปปลูกต่อได้ภายหลังงาน
- ลดการแจกเอกสารในบูธนิทรรศการ ใช้ QR Code เพื่อให้ผู้ชมงานเลือกสแกนรับ e-brochure แทน
กล่าวโดยสรุป ในปีที่ผ่านมา ปิโก (ไทยแลนด์) ยังคงภาคภูมิใจที่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่ยั่งยืนควบคู่กับการสร้างคุณค่าร่วมต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยนโยบายแนวคิด Go Digital และพัฒนาองค์ความรู้ด้านดิจิทัลแก่พนักงาน คู่ค้า และเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปอย่างมีเป้าหมายในโลกธุรกิจดิจิทัลและความท้าทายต่างๆ การยกระดับคุณภาพการศึกษา และพัฒนาคุณภาพ “คน” ของประเทศอย่างต่อเนื่องผ่านการพัฒนาหัวใจของระบบการศึกษา “ครู” พร้อมแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ตลอดจนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ควบคู่กับนำร่องแนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม BCG ในการขับเคลื่อนธุรกิจระดับประเทศและระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ มีความยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนผลกระทบที่ดีในวงกว้างทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แม้ว่าบริษัทฯ จะต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรงของวิกฤตการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 และวิกฤตการอื่นๆ ระดับนานาชาติ ทั้งหมดนี้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจและแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เริ่มต้นจากคุณภาพของคน คุณค่าร่วมที่สำคัญที่สุดขององค์กรและสังคม อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในทุกๆ สภาวการณ์